วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

Technology Lesson 10 : การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ

การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21

     1.1 จิตสำนึกต่อโลก
     1.2 ความรู้พื้นฐานด้านการเงินเศรษฐกิจธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ
     1.3 ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง
     1.4 ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ
     1.5 ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม

2. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 

     2.1 ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
     2.2 การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา
     2.3 การสื่อสารและการร่วมมือทำงาน

3. ทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี

          ทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยีนั้นจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนและเรียนรู้เพื่อให้มีสามารถปฏิบัติตนเพื่อรองรับต้อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีในกระแสโลกาภิวัฒน์ซึ่งจำเป็นต้องมี
     3.1 ความรู้พื้นฐานด้านสารสนเทศ
     3.2 ความรู้พื้นฐานด้านสื่อ
     3.3 ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

4. ทักษะชีวิตและการทางาน สำคัญในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขซึ่งประกอบด้วย 

     4.1 ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว
     4.2 ความริเริ่มและการชี้นำตนเอง
     4.3 ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม
     4.4 การเพิ่มผลผลิตและความรู้รับผิด
     4.5 ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ

Technology Lesson 10 : การปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคต

การปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคต

1. การปฏิรูปการทางานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

     1.1 การปฏิรูปรูปแบบการทำงานขององค์กรเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการปฏิรูปรูปแบบของการทำงาน
     1.2 มีการจัดการเชิงกลยุทธ์ ขององค์กรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
     1.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการทำงานเพื่อให้การทำงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในองค์กร
     1.4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างคุณค่าให้กับองค์กรในอนาคต

2.การปรับตัวขององค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง 

     2.1 ทำความเข้าใจต่อบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจปัจจุบัน
     2.2 วางแผนพัฒนาระบบสารสนเทศ
     2.3 พัฒนาระบบสารสนเทศเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลหรือความรู้ขององค์กร
     2.4 พัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

Technology Lesson 10 : เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต

เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต

1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคม

     1.1 ความรับผิดชอบต่อสังคมระดับบุคคล
          1.1.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและถูกต้องตามกฎหมาย
          1.1.2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์และเป็นมิตรที่ดีกับคนอื่น
          1.1.3 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อก่อให้เกิดความรักสามัคคีในหมู่คณะ
          1.1.4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างกิจกรรมทางสังคมที่เป็นประโยชน์
          1.1.5 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรักษาสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน

     1.2 ความรับผิดชอบต่อสังคมระดับองค์กร (Corporate Social Responsibility: CSR) หมายถึง การดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนและสังคมภายใต้หลักจริยธรรมการกำกับดูแลที่ดี (good governance) เพื่อนำไปสู่การดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น

2. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม

     2.1 เป้าหมายของกรีนไอที
          2.1.1 การออกแบบจากแหล่งกำเนิดไปยังแหล่งกำเนิดการใช้งานของสิ่งต่างๆก็จะเป็นวัฎจักรของผลิตภัณฑ์โดยการสร้างผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ (recycle)
          2.1.2 การลดข้อมูลเป็นการลดทิ้งและมลพิษโดยการเปลี่ยนรูปแบบของการนำไปสร้างผลิตภัณฑ์และการบริโภค
          2.1.3 พัฒนาสิ่งใหม่ๆเป็นการพัฒนาเพื่อเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นการนำซากสัตว์มาเป็นเชื้อเพลิงหรือทางเคมีแต่ก็อาจทำให้สุขภาพและสภาพแวดล้อมเสียหายได
          2.1.4 ความสามารถในการดำรงชีวิตสร้างศูนย์กลางทางด้านเศรษฐศาสตร์ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์
          2.1.5 พลังงานต้องรับรู้ข่าวสารทางด้านเทคโนโลยีสีเขียวรวมไปถึงการพัฒนาของเชื้อเพลิง
          2.1.6 สภาพสิ่งแวดล้อมนำไปสู่การค้นหาสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อค้นหาสิ่งที่บรรลุและวิธีที่ทำให้เกิดการกระทบกับสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด

     2.2 ตัวอย่างของกรีนไอที
          2.2.1 กรีนคอมพิวเตอร์ (green computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรอื่นๆ

3. สภาพแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการใช้งานระบบไอที

            เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่นี้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อม แต่พอเครื่องคอมพิวเตอร์หมดอายุการใช้งานกลายเป็น “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ซึ่งอุปกรณ์บางอย่างก็ไม่สามารถย่อยสลายได้

Technology Lesson 10 : แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

          ในปัจจุบันเป็นยุคของกระแสโลกาภิวัฒน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแบบก้าวกระโดด ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 2 องค์ประกอบ คือ เทคโนโลยีเพื่อการประมวลผล คือ ระบบคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีเพื่อการเผยแพร่ คือ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่น ๆ

          1. ระบบคอมพิวเตอร์ 

               1.1 ฮาร์ดแวร์
                    1.1.1 แท็บเล็ต (tablet)
                    1.1.2 สมาร์ทโฟน (smartphone)
               1.2 ซอฟต์แวร์
                    1.2.1 Software as a Service (SaaS)
                    1.2.2 โมบายแอปพลิเคชัน (mobile application)
               1.3 คลาวด์คอมพิวติ้ง (cloud computing)

          2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม

               2.1 เครือข่ายสังคมออนไลน์ (online social network) หมายถึง เว็บไซต์ที่ให้บริการผู้ใช้ให้สามารถสร้างเว็บโฮมเพจของตนเขียนเว็บบล็อกโพสต์รูปภาพวิดีโอ ดนตรี เพลง รวมถึงการแชร์ความคิดและสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่สนใจได้
               2.2 โซเชียลคอมเมิรซ์ (Social Commerce) คือการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการค้าขายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เป็นการนำโซเชียลมีเดีย (social media) และสื่อออนไลน์แบบต่างๆมาช่วยในการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อช่วยในการขายสินค้าออนไลน์ต่างๆ

          3. แนวโน้มอื่นๆด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

               3.1 แนวโน้มด้านข้อมูลบริษัทฮิตาชิดาต้าซิสเต็มส์ได้คาดการแนวโน้มด้านข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 มีดังนี้
                    3.1.1 ความมีประสิทธิภาพของระบบจัดเก็บข้อมูล (storage efficiency) จะมีมากขึ้น
                    3.1.2 จะมีการผสมผสานระบบเข้าด้วยกัน (consolidation to convergence) โดยการผสานรวมเซริฟเวอร์ (sever) ระบบจัดเก็บข้อมูลเครือข่ายและแอพพิเคชั่นโดยอาศัยแอปพลิเคชันโปรแกรมมิ่ง (Application Programming Interface: APIs)
                    3.1.3 ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) หรือเรียกว่า “บิ๊กดาต้า” นั้นจะมีการเติบโตมากขึ้นซึ่งองค์กรจะต้องหาวิธีการจัดการกับบิ๊กดาต้าที่จะเกิดขึ้น จะต้องหาวิธีการจัดการกับบิ๊กดาต้าที่จะเกิดขึ้น
                    3.1.4 การย้ายข้อมูลแบบเสมือน (virtualization migration) การย้ายข้อมูลของอุปกรณ์แบบต้องหยุดระบบจะถูกแทนที่ด้วยความสามารถใหม่ของระบบเสมือนจริงที่ถูกย้ายข้อมูลโดยไม่จำเป็นต้องรีบูท (reboot) ระบบใหม่
                    3.1.5 การปรับใช้ระบบคลาวด์ (cloud acquisition) การปรับใช้ระบบคลาวด์ทั้งในแบบบริการตนเองแบบจ่ายเท่าที่ใช้งานและความต้องการจะเข้ามามีแทนที่วงจรการปรับใช้ผลิตภัณฑ์ปัจจุบันที่มีระยะเวลาระหว่าง 3-5 ปี
               3.2 การวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ (Business Analytics :BA)
               3.3 กรีนไอที (Green IT)
               3.4 ความปลอดภัยและมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Security and IT Standard)
               3.5 สมาร์ทซิตี้ (Smart City)

4. นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า 

               4.1 การสร้างพลังงานขึ้นเองเพื่อใช้ภายในบ้าน
               4.2 มนุษย์จะใช่เสียงพูดใบหน้าและดวงตาแทนรหัสผ่าน
               4.3 มนุษย์สามารถใช้สมองสั่งงานแลปทอป (laptop) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้
               4.4 ทุกคนสามารถเข้าข้อมูลต่างๆได้ทุกทีทุกเวลาด้วยเทคโนโลยีโมบายในช่วง 5 ปีต่อจากนี้
               4.5 คอมพิวเตอร์จะคัดกรองข้อมูลสำคัญให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้ใช้

Technology Lesson 9 : เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสร้างนวัตกรรม

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสร้างนวัตกรรม


          นวัตกรรม คือ กระบวนการในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งเล็กและใหญ่ เปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงหรือบางส่วน เปลี่ยนแปลงในตัวสินค้า กระบวนการ และบริการ ซึ่งนำไปสู่การนำเสนอสิ่งใหม่สำหรับองค์กรในการเพิ่มมูลค่าแก่ลูกค้าและความรู้ขององค์กร

     รูปแบบของนวัตกรรม สามารถแบ่งได้ตามผลที่ได้รับ ได้แก่ 

          1) นวัตกรรมสินค้า เป็นการพัฒนาสินค้าที่เป็นสินค้าอุปโภค บริโภค รวมไปถึงสินค้าอุตสาหกรรม เช่น เครื่องมือ เครื่องจักร
          2) นวัตกรรมบริการ เป็นการสร้างวิธีใหม่ในการให้บริการ
          3) นวัตกรรมกระบวนการ เป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงานซึ่งนำไปสู่รูปแบบใหม่ของกระบวนการทำงาน

ตัวอย่างของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ หุ่นยนต์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เครือข่ายสังคม คอมพิวเตอร์นาโน



Technology Lesson 9 : การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานบริการ

การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานบริการ

     บริการต่างๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่ให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย (www.dusit.ac.th) ได้แก่
          1) บริการห้องสมุดเสมือน (virtual library)
          2) บริการวิชาการผ่านระบบ internet protocol television (IPTV) ที่เรียกว่า Suan Dusit internet broadcasting – SDIB
          3) บริการด้านการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์
          4) บริการฐานข้อมูลงานวิจัย (e-Research) โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา
          5) บริการระบบบริหารการศึกษาหรือระบบทะเบียนออนไลน์ ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
          6) บริการข้อมูลการสำรวจประชามติ

Technology Lesson 9 : การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับภาครัฐ

การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับภาครัฐ


1. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government)

          หมายถึง วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐและปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน และบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐและปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน และบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชน ภาคเอกชน และข้าราชการ
          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) คือ การดำเนินการธุรกรรมทางพาณิชย์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยภาครัฐจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานและบริการของภาครัฐในการอำนวยความสะดวกแก่การดำเนินพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
          อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-lndustry) หมายถึง การสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญ 
          อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-education) หมายถึง การส่งข้อมูลสื่อการศึกษาและการบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น สายโทรศัพท์ 

     ภาคสังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e-society) หมายถึง สังคมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นโดยผ่าน “อิเล็กทรอนิกส์”

     รูปแบบของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ มีหลายรูปแบบ ได้แก่

          1) Internal e-government เป็นระบบงานภายในของภาครัฐด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสร้างห่วงโซ่มูลค่าขึ้นกับงานภายใน นวัตกรรมที่เกิดขึ้นคือ ระบบงานสนับสนุนงานส่วนหลัง 
          2) Government to Citizen (G2C) เป็นการสร้างบริการที่สนับสนุนให้เกิดห่วงโซ่ของลูกค้าหรือประชาชน เพราะประชาชนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของระบบ เพื่อให้เกิดการให้บริการที่ดีขึ้น 
          3) Government to Business (G2B) เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับภาคธุรกิจในการส่งเสริมห่วงโซ่อุปทาน รวมไปถึงการทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย 
          4) Government to Government (G2G) เป็นการทำงานร่วมกันของภาครัฐ สร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดห่วงโซ่มูลค่าและสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้ 
          5) Citizen to Citizen (C2C) เป็นการส่งเสริมให้เกิดประชาธิปไตยและสร้างภาพอนาคตของการบริหารงานภาครัฐอย่างมีธรรมาภิบาล

     ประโยชน์ของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ จะเน้นไปที่การปรับปรุงการบริการต่อประชาชนและภาคเอกชน และพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรัฐบาล ดังนี้

          1) การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลและบริการที่ดีกว่าเดิมของประชาชน 
          2) ปรับปรุงคุณภาพของการบริการ โดยสร้างความน่าเชื่อถือให้ดีกว่าเดิม เพื่อความรวดเร็ว สร้างความโปร่งใสของการให้บริการ 
          3) การจัดการกระบวนการที่ดีขึ้น 
          4) มีระบบที่ดีขึ้น โดยมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ การบริหารจัดการ การสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ดำเนินการ 
          5) การกระจายอำนาจไปสู่ประชาชน