วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

Technology Lesson 8 : รูปแบบการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วย การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550


รูปแบบการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
   

1. การเข้าถึงระบบและข้อมูลคอมพิวเตอร์


          1.1 สปายแวร์ เป็นโปรแกรมที่อาศัยช่องทางการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตขณะที่เราท่องเว็บไซต์บางเว็บหรือทำการดาวน์โหลดข้อมูล
          1.2 สนิฟเฟอร์ คือโปรแกรมที่คอยดักฟังการสนทนาบนเครือข่าย
          1.3 ฟิซชิ่ง เป็นการหลอกลวงเหยื่อเพื่อล้วงเอาข้อมูลส่วนตัว โดยการส่งอีเมล์หลอกลวง (Spoofing) เพื่อขอข้อมูลส่วนตัว

2. การรบกวนระบบและข้อมูลคอมพิวเตอร์


          2.1 ไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมชนิดหนึ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูล หรือระบบคอมพิวเตอร์
               2.1.1 หนอนอินเตอร์เน็ต (Internet Worm) หมายถึงโปรแกรมที่ออกแบบมาให้สามารถแพร่กระจายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ด้วยตัวเอง โดยอาศัยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
               2.1.2 โทรจัน (Trojan) หมายถึง โปรแกรมที่ออกแบบมาให้แฝงเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้อื่น ในหลากหลายรูปแบบ เช่น โปรแกรม หรือ การ์ดอวยพร เป็นต้น
               2.1.3 โค้ด (Exploit) หมายถึง โปรแกรมที่ออกแบบมาให้สามารถเจาะระบบโดยอาศัยช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ หรือแอพพลิเคชั่นที่ทำงานอยู่บนระบบ เพื่อให้ไวรัสหรือผู้บุกรุกสามารถครอบครอง ควบคุม หรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดบนระบบได้
               2.1.4 ข่าวไวรัสหลอกลวง (Hoax) มักจะอยู่ในรูปแบบของการส่งข้อความต่อ ๆ กันไป เหมือนกับการส่งจดหมายลูกโซ่ โดยข้อความประเภทนี้จะใช้หลักจิตวิทยา ทำให้ข่าวสารนั้นน่าเชื่อถือ ถ้าผู้ที่ได้รับข้อความปฏิบัติตามอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์
          2.2 ดิไนออล อ๊อฟ เซอร์วิส (Distributed of Service : DoS) หรือ ดิสตริบิวต์ ดิไนออล อ๊อฟ เซอร์วิส (Distributed Denial of Service : DDoS) เป็นการโจมตีจากผู้บุกรุกที่ต้องการทำให้เกิดภาวะที่ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถให้บริการได้
               2.2.1 การแพร่กระจายของไวรัสปริมาณมากในเครือข่าย ก่อให้เกิดการติดขัดของการจราจรในระบบเครือข่าย ทำให้การสื่อสารในเครือข่ายตามปกติช้าลง หรือใช้ไม่ได้
               2.2.2 การส่งแพ็กเก็ตจำนวนมากเข้าไปในเครือข่ายหรือ ฟลัดดิ้ง(flooding) เพื่อให้เกิดการติดขัดของการจราจรในเครือข่ายมีสูงขึ้น ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารภายในเครือข่ายช้าลง
               2.2.3 การโจมตีข้อบกพร่องของซอฟต์แวร์ระบบ เพื่อจุดประสงค์ในการเข้าถึงสิทธิ์การใช้สูงขึ้น จนไม่สามารถเข้าไปใช้บริการได้
               2.2.4 การขัดขวางการเชื่อมต่อใดๆ ในเครือข่ายทำให้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายไม่สามารถสื่อสารกันได้
               2.2.5 การโจมตีที่ทำให้ซอฟต์แวร์ในระบบปิดตัวลงเองโดยอัตโนมัติ หรือไม่สามารถทำงานต่อได้จนไม่สามารถให้บริการใดๆ ได้อีก
               2.2.6 การกระทำใดๆ ก็ตามเพื่อขัดขวางผู้ใช้ระบบในการเข้าใช้บริการในระบบได้ เช่น การปิดบริการเว็บเซิร์ฟเวอร์ลง
               2.2.7 การทำลายระบบข้อมูล หรือบริการในระบบ เช่น การลบชื่อ และข้อมูลผู้ใช้ออกจากระบบ ทำให้ไม่สามารถเช้าสู่ระบบได้

3. การสแปมเมล์ (จดหมายบุกรุก)


          ความผิดฐานการสแปมเมล์อีเมล์ จะเกี่ยวข้องกับมาตรา 11 ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ลักษณะการกระทำ เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ไปให้บุคคลอื่น โดยการซ่อนหรือปลอมชื่อ อีเมล์

4. การใช้โปรแกรมเจาะระบบ (Hacking Tool)


          การกระทำผิดฐานเจาะระบบโดยใช้โปรแกรม จะเกี่ยวข้องกับมาตรา 13 ซึ่งการเจาะระบบเรียกว่า การแฮคระบบ (Hack) เป็นการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการรักษาความปลอดภัยไว้ ให้สามารถเข้าใช้ได้สำหรับผู้ที่อนุญาตเท่านั้น ส่วนผู้ที่เข้าสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตจะเรียกว่า แฮคเกอร์

5. การโพสต์ข้อมูลเท็จ


          สำหรับการโพสต์ข้อมูลเท็จ หรือการใส่ร้าย กล่าวหาผู้อื่น การหลอกลวงผู้อื่นให้หลงเชื่อหรือการโฆษณาชวนเชื่อใดๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม หรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

6. การตัดต่อภาพ


          ความผิดฐานการตัดต่อภายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เป็นความผิดในมาตรา 16 ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งการกระทำผิดรวมถึงการแต่งเติม หรือดัดแปลงรูปภาพด้วยวิธีใดๆ จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำได้รับความเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกเกลียดชังหรือได้รับความอับอาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น