วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

Technology Lesson 9 : การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับภาครัฐ

การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับภาครัฐ


1. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government)

          หมายถึง วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐและปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน และบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐและปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน และบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชน ภาคเอกชน และข้าราชการ
          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) คือ การดำเนินการธุรกรรมทางพาณิชย์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยภาครัฐจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานและบริการของภาครัฐในการอำนวยความสะดวกแก่การดำเนินพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
          อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-lndustry) หมายถึง การสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญ 
          อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-education) หมายถึง การส่งข้อมูลสื่อการศึกษาและการบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น สายโทรศัพท์ 

     ภาคสังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e-society) หมายถึง สังคมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นโดยผ่าน “อิเล็กทรอนิกส์”

     รูปแบบของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ มีหลายรูปแบบ ได้แก่

          1) Internal e-government เป็นระบบงานภายในของภาครัฐด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสร้างห่วงโซ่มูลค่าขึ้นกับงานภายใน นวัตกรรมที่เกิดขึ้นคือ ระบบงานสนับสนุนงานส่วนหลัง 
          2) Government to Citizen (G2C) เป็นการสร้างบริการที่สนับสนุนให้เกิดห่วงโซ่ของลูกค้าหรือประชาชน เพราะประชาชนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของระบบ เพื่อให้เกิดการให้บริการที่ดีขึ้น 
          3) Government to Business (G2B) เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับภาคธุรกิจในการส่งเสริมห่วงโซ่อุปทาน รวมไปถึงการทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย 
          4) Government to Government (G2G) เป็นการทำงานร่วมกันของภาครัฐ สร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดห่วงโซ่มูลค่าและสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้ 
          5) Citizen to Citizen (C2C) เป็นการส่งเสริมให้เกิดประชาธิปไตยและสร้างภาพอนาคตของการบริหารงานภาครัฐอย่างมีธรรมาภิบาล

     ประโยชน์ของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ จะเน้นไปที่การปรับปรุงการบริการต่อประชาชนและภาคเอกชน และพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรัฐบาล ดังนี้

          1) การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลและบริการที่ดีกว่าเดิมของประชาชน 
          2) ปรับปรุงคุณภาพของการบริการ โดยสร้างความน่าเชื่อถือให้ดีกว่าเดิม เพื่อความรวดเร็ว สร้างความโปร่งใสของการให้บริการ 
          3) การจัดการกระบวนการที่ดีขึ้น 
          4) มีระบบที่ดีขึ้น โดยมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ การบริหารจัดการ การสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ดำเนินการ 
          5) การกระจายอำนาจไปสู่ประชาชน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น