วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

Technology Lesson 9 : การประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อชีวิต

การประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อชีวิต


การประยุกต์เทคโนโลยีสารสเทศเพื่อการศึกษา

     การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์กับการศึกษานั้นมีเทคโนโลยีทางการศึกษาได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีรูปแบบที่ส่งเสริมให้เกิดสภาพการเรียนรู้แบบใหม่ที่ทำให้ผู้เรียนได้มีช่องทางการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น 

1. e-learning 

          e-Learning ย่อมาจากคำว่า electronic(s) Learning เป็นการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงการเรียนรู้ทางคอมพิวเตอร์หรือการเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์ รูปแบบของการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนมากจะเป็นการเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งทำให้สามารถโต้ตอบกันได้เสมือนการเรียนในชั้นเรียนปกติ
          การเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน (A hybrid e-Learning model) ประกอบด้วย โปรแกรมประยุกต์ส่วนต่างๆ ดังนี้
               1) e-leaning map การเรียนโดยการออกแบบแผนที่การเรียนเฉพาะบุคคลซึ่งใช้ข้อมูลจากการทดสอบเบื้องต้น
               2) on-line e-learning มี 2 ตัวเลือก คือ การถ่ายทอดสด กับ การถ่ายข้อมูลลงแบบออนไลน์
               3) e- learning group ทรัพยากรในชุมชนการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนกันได้โดยใช้เครื่องแม่ข่ายของกลุ่มข่าว เป็นการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับรู้เรียนในการปฏิสัมพันธ์หรือแลกเปลี่ยนข่าวสารได้ทั้งภาพและเสียง
               4) e-comprehension กระบวนการเรียนรู้ผ่านการสร้างสถานการณ์ กรณีศึกษา โดยใช้ข้อความหลายมิติ เว็บไซต์ มัลติมีเดีย คำถาม และอื่นๆ
               5) e-illustration การใช้ภาพประกอบ แผนภาพ และมัลติมีเดีย เพื่อเป็นการยกตัวอย่างประกอบการอธิบายให้ชัดเจน
               6) e-workgroup แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มต่างๆ และจัดกิจกรรมทั้งภายในและระหว่างกลุ่มเพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ร่วมกัน

2. มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้

          หมายถึง การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ถ่ายทอดหรือนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอน ที่บูรณาการหรือผสมผสานสื่อหลากหลายรูปแบบ (Multiple forms) เข้าไว้ด้วยกัน 

          หลักการออกแบบเนื้อหา ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 
               1) การเตรียมเนื้อหา ประกอบด้วย การวางโครงสร้างของเนื้อหา การคัดเลือกเนื้อหาที่จะนำเสนอ การเรียงลำดับหัวข้อเนื้อหา และการใช้ภาษาให้เหมาะสม 
               2) การออกแบบเนื้อหาประเภทต่างๆ ประกอบด้วย การสร้างเนื้อหาด้านความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การสร้างเนื้อหาด้านทักษะและการปฏิบัติ การสร้างเนื้อหาด้านทัศนคติ
               3) การออกแบบข้อคำถามสำหรับการประเมิน ประกอบด้วย การสร้างแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน การสร้างแบบฝึกหัด การสร้างคำถามที่ใช้ในบทเรียน 

หลักการออกแบบการเรียนการสอน นำเสนอตามขั้นตอนกระบวนการเรียนการสอนได้ 9 ขั้น ดังนี้

          1) การกระตุ้นหรือเร้าความสนใจให้พร้อมในการเรียน 
          2) การแจ้งวัตถุประสงค์ของการเรียน 
          3) การทบทวนและกระตุ้นให้ระลึกถึงความรู้เดิม 
          4) การนำเสนอสิ่งเร้าหรือเนื้อหาและความรู้ใหม่ 
          5) การแนะแนวทางการเรียนรู้
          6) การกระตุ้นการตอบสนองหรือแสดงความสามารถ 
          7) การให้ข้อมูลป้อนกลับ 
          8) การทดสอบความรู้หรือการประเมินผลการแสดงออก 
          9) การส่งเสริมความจำหรือความคงทน และการนำไปใช้หรือการถ่ายโอนการเรียนรู้ 

3. Vitual Classroom

          ห้องเรียนเสมือนเป็นห้องเรียนที่สามารถรองรับชั้นเรียนได้ในเวลาและสถานที่ซึ่งผู้เรียนกับผู้สอนไม่ได้ร่วมกันในสถานที่เดียวกัน โดยมีคุณลักษณะคือ การสนับสนุนการประเมินผลและการเข้าร่วมในการสื่อสารด้วยเครื่องมือต่างๆ ทั้งปฏิทินออนไลน์ โปรแกรมค้นหา และคำแนะนำออนไลน์

4. Mobile Technology

          ในปัจจุบันอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ถูกออกแบบมาให้สามารถรองรับทั้งการรับ-ส่งข้อมูลด้วยเสียงและข้อความ โดยกำจัดด้านความสามารถของการส่งเนื้อหาที่เป็นวิดีโอได้โดยเฉพาะการเข้าถึงอุปกรณ์อื่นๆ ที่สามารถนำมาเชื่อมต่อได้ทั้งเทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหว เสียงภาพลักษณ์ต่างๆ สามารถแปลงเข้าสู่อุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ แนวโน้มของสังคมที่ต้องการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นมีมากขึ้น 
          การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์แสดงผลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์แสดงภาพ อุปกรณ์เสียง เครื่องพิมพ์ ถ่ายโอนข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อไมโครโฟนในการส่งข้อมูลเสียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น