วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

Technology Lesson 8 : กฏหมาย จริยธรรม และความปลอดภัยในการใช้เทคโนยีสารสนเทศ

กฏหมาย จริยธรรม และความปลอดภัยในการใช้เทคโนยีสารสนเทศ

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ


     1. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
          1.1 ส่วนทั่วไป บทบัญญัติใยส่วนทั่วไปประกอบด้วย มาตรา 1 ชื่อกฎหมาย มาตรา 2 วันบังคับใช้กฎหมาย มาตรา 3 คำนิยาม และมาตรา 4 ผู้รักษาการ
          1.2 หมวด 1 บทบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีทั้งสิ้น 13 มาตรา ตั้งแต่มาตรา 5 ถึงมาตรา 17 สาระสำคัญของหมวดนี้ว่าด้วยฐานความผิด อันเป็นผลจากการกระทำผิดที่กระทบต่อความมั่นคง ปลอดภัย ของระบบสารสนเทศ
               1.2.1 การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ รายละเอียดอยู่ในมาตรา 5 ซึ่งการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้โปรแกรมสปายแวร์ (Spyware) ขโมยข้อมูลรหัสผ่านส่วนบุคคลของผู้อื่น
               1.2.2 การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง และนำไปเปิดเผยโดยมิชอบ จะเกี่ยวข้องกับมาตรา 6 โดยการล่วงรู้มาตรการความปลอดภัยการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การแอบบันทึกการกดรหัสผ่านผู้อื่น แล้วนำไปโพสต์ไว้ในเว็บบอร์ดต่าง ๆ1.2.3 การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบมาตรา 7 การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น การกระทำใด ๆ เพื่อเข้าถึงแฟ้มข้อมูล (File) ที่เป็นความลับโดยไม่ได้รับอนุญาต
               1.2.4 การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบรายละเอียดอยู่ในมาตรา 8 ซึ่งการดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ คือ การดักข้อมูลของผู้อื่นในระหว่างการส่ง 
               1.2.5 ในมาตรา 9 และ มาตรา 10 เนื้อหาเกี่ยวกับการรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ ซึ่งการรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์
               1.2.6 การสแปมเมล์ จะเกี่ยวข้องกับมาตรา 11 มาตรานี้เป็นมาตราที่เพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อให้ครอบคลุมถึงการส่งสแปมเมล์ซึ่งเป็นลักษณะการกระทำความผิดที่ใกล้เคียงกับมาตรา 10 และยังเป็นวิธีการทำความผิดโดยการใช้โปรแกรมหรือชุดคำสั่งไปให้เหยื่อจำนวนมาก โดยปกปิดแหล่งที่มา 
               1.2.7 มาตรา 12 การกระทำความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ การรบกวนระบบและข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนหรือกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ และการบริการสาธารณะ 
               1.2.8 การจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อใช้กระทำความผิดรายละเอียดอยู่ในมาตรา 13
               1.2.9 มาตรา 14 และมาตรา 15 จะกล่าวถึงการปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม และการรับผิดของผู้ให้บริการ สองมาตรานี้เป็นลักษณะที่เกิดจากการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นเท็จ หรือมีเนื้อหาไม่เหมาะสมในรูปแบบต่าง ๆ 
               1.2.10 การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อหรือดัดแปลงให้ผู้อื่นถูกดูหมิ่น หรืออับอายจะเกี่ยวข้องกับมาตรา 16 ซึ่งมาตรานี้เป็นการกำหนดฐานความผิดในเรื่องของการตัดต่อภาพของบุคคลอื่นอาจทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย 
               1.2.11 มาตรา 17 เป็นมาตราที่ว่าด้วยการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เนื่องจากมีความกังวลว่า หากมีการกระทำความผิดนอกประเทศแต่ความเสียหายเกิดขึ้นในประเทศ
          1.3 หมวด 2 สำหรับในหมวดนี้ได้มีการกำหนดเกี่ยวกับอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่และยังมารกำหนดเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้อีกด้วย รวมทั้งยังมีการกำหนดหน้าที่ของผู้ให้บริการที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์

2. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์


          กฎหมายส่วนใหญ่รับรองธุรกรรมที่มีลายมือชื่อบนเอกสารที่เป็นกระดาษ ทำให้เป็นปัญหาต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เนื้อหาสำคัญสำคัญเกี่ยวกับการค้าของกฎหมายฉบับนี้มีดังต่อไปนี้ 
          2.1 กฎหมายนี้รับรองการทำธุรกรรมด้วยเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด เช่น โทรสาร โทรเลข ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
          2.2 ศาลจะต้องยอมรับฟังเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าศาลจะต้องเชื่อว่าข้อความอิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นข้อความที่ถูกต้อง เอกสารที่มีระบบลายมือซื่อดิจิทัลจะเป็นวิธีหนึ่งในการสร้างหลักฐานที่ศาลจะเชื่อว่าเป็นจริง 
          2.3 ปัจจุบันธุรกิจจำเป็นต้องเก็บเอกสารทางการค้าที่เป็นกระดาษจำนวนมาก ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายและความไม่ปลอดภัยขึ้น กฎหมายฉบับนี้เปิดทางให้ธุรกิจสามารถเก็บเอกสารเหล่านี้ในรูปไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ได้ 
          2.4 การทำสัญญาบนเอกสารที่เป็นกระดาษจะมีการระบุวันเวลาที่ทำธุรกรรมนั้นด้วย การรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีผลนับตั้งแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลของผู้รับข้อมูล
          2.5 มาตรา 25 ระบุถึงบทบาทของภาครัฐในการให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้อำนาจหน่วยงานรัฐบาลสามารถสร้างระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 
          2.6 ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ หรือลายมือชื่อดิจิทัลของผู้ประกอบถือเป็นสิ่งสำคัญและมีค่าเทียบเท่าการลงลายมือชื่อบนเอกสารกระดาษ ดังนั้นผู้ประกอบการต้องเก็บรักษาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์นี้ไว้เป็นความลับ

3. กฎหมายลิขสิทธิ์ และการใช้งานโดยธรรม (Fair Use)


          มีสาระสำคัญในการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ ปัจจัย 4 ประการ ดังนี้ 
          3.1 พิจารณาว่าการกระทำดังกล่าวมีวัตถุประสงค์การใช้งานอย่างไร ลักษณะการนำไปใช้มิใช่เป็นเชิงพาณิชย์ 
          3.2 ลักษณะของข้อมูลที่จะนำไปใช้ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริง ซึ่งทุกคนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 
          3.3 จำนวนและเนื้อหาที่จะคัดลอกไปใช้เมื่อเป็นสัดส่วนกับข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ทั้งหมด 
          3.4 ผลกระทบของการนำข้อมูลไปใช้ที่มีต่อความเป็นไปได้ทางการตลาดหรือคุณค่าของงานที่มีลิขสิทธิ์นั้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น